กฎหมาย/กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม

พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551

ปีที่ประกาศใช้ พ.ศ. 2551

สรุปเนื้อหา พ.ร.บ.การมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ.2551 เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ.2551 เนื่องจากการดำเนินการเกี่ยวกับการมาตรฐานของประเทศดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหลายแห่งทำให้ขาดความเป็นเอกภาพด้านการมาตรฐาน และยังไม่มีกฎหมายควบคุมผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง จึงกำหนดให้มี คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายกำกับดูแลและประสานงานด้านการมาตรฐานของประเทศให้เกิดความเป็นเอกภาพ และควบคุมผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของผู้ประกอบกิจการต่างๆ นิยามศัพท์ 1. การมาตรฐาน ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานทั้งปวงที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน การตรวจสอบและรับรอง และมาตรวิทยา 2. การตรวจสอบและรับรอง ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการให้บริการทดสอบ สอบเทียบ ตรวจ หรือรับรองด้านการมาตรฐาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ ระบบการบริหารหรือการจัดการ บุคลากร องค์กร หรือกิจกรรมอื่นๆ มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ผู้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การมาตรฐานแห่งชาติ (มาตรา 3) 1. ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง หมายถึง บุคคลหรือหน่วยงานที่ให้บริการการตรวจสอบและรับรอง 2. ผู้รับใบอนุญาต หมายถึง ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองซึ่งได้รับใบอนุญาตและต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับตาม พ.ร.บ.นี้ 3. ผู้รับใบรับรอง หมายถึง ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองซึ่งได้รับใบรับรองและมีสิทธิแสดงเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปตาม พ.ร.บ.นี้ 4. ผู้ประกอบกิจการ ให้หมายความรวมถึง ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือผู้ให้บริการที่ใช้บริการการตรวจสอบและรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง สาระสำคัญของ พ.ร.บ.การมาตรฐานแห่งชาติ 1. ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองต้องได้รับใบอนุญาตและต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ในสาขาที่มีการประกาศกำหนด โดยคณะกรรมการจะประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาต การตรวจสอบ และการออกใบอนุญาต (มาตรา 18) 2.. ควบคุมผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองในด้านการโฆษณาหรือกล่าวอ้างว่าเป็นผู้ทำการตรวจสอบและรับรองที่เกินความจริง และการโฆษณาหรือกล่าวอ้างอันเป็นเท็จ (มาตรา 31) 3. ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบรับรอง หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.นี้ สำนักงานหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจะเตือนเป็นหนังสือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระเวลาที่กำหนด (มาตรา 38) 4 ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบรับรองไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองหรือหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขการตรวจสอบและรับรองที่คณะกรรมการกำหนด ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งลดการตรวจสอบและรับรองในสาขานั้นได้ ทั้งนี้ 4.1 ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกสั่งลดการตรวจสอบและรับรอง จะไม่สามารถแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับสำหรับการตรวจสอบและรับรองในสาขานั้นได้ 4.2 ผู้รับใบรับรองที่ถูกสั่งลดการตรวจสอบและรับรองจะไม่สามารถแสดงเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปสำหรับการตรวจสอบและรับรองในสาขานั้นได้ (มาตรา 39) 5. ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบรับรองที่ไม่ปฏิบัติตามหนังสือเตือนตามมาตรา 38 ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือใบรับรองในสาขาใดได้ไม่เกินครั้งละ 3 เดือน โดยในระหว่างที่ถูกสั่งพักจะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับหรือแสดงเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปตามใบอนุญาตหรือใบรับรองในสาขานั้นไม่ได้ (มาตรา 40) 6.ผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองผู้ใดจัดทำผลการตรวจสอบและรับรองอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่